Physio EP: 45 🤔เจ็บ-ชาน่อง แก้ที่ก้น (Calf pain related to glute)🤔
- Werachart Jaiaree
- 6 เม.ย.
- ยาว 2 นาที

🟢การเชื่อมโยงส่วนต่างๆของร่างกายเข้าด้วยกัน ถูกตีความไว้ในหลาย concept เช่น ผ่านทาง kinetic chain, ผ่านทาง fascial connection, ผ่านจุดเกาะร่วม, ผ่าน function วันนี้จะมาพูดถึงความเชื่อมโยงระหว่างน่องไปจนถึงก้น ผ่าน superficial back line ของคุณ Thomas Myer
โดยเริ่มจาก plantar fascia ที่เท้า -> Gastrocnemius ที่น่อง->Hamstring ที่ต้นขาด้านหลัง -> Sacrotuberous ligament บริเวณก้น
แต่ถ้ามอง Primary Kinetic chain ของคุณ Joseph ก็มองได้เช่นกัน โดยส่วนตัวมองได้ 2 subsystem ที่เกี่ยวข้องระหว่าง calf ไปถึง glute ได้แก่
1️⃣Lateral subsystem โดย gastrocnemius เป็น Synergist ของ Soleus และ gluteus maximus เป็น synergist ของ gluteus medius ซึ่งเป็น prime mover หลักตัวหนึ่งในsystem นี้

2️⃣Posterior oblique subsystem (POS) โดย gastrocnemius เป็น Synergist ของ Soleus และ gluteus maximus เป็น prime mover หลักตัวหนึ่งในsystem นี้

พอเราได้ concept คร่าวๆของการเชื่อมโยงแล้ว อีกอย่างที่ต้องนึกต่อคืออาจจะร้าวมาจากที่อื่นๆ เช่น spine ก็ได้ ซึ่งอาจประเมินได้จาก Spinal mobility, dermatome และ Myotome
⭕️ในเคสนี้เป็นผู้ป่วยชาย อายุ 70 ปี ชอบตีกอล์ฟ
ปัญหาหลักของคนไข้มีอาการปวดและชาที่น่องขวา>ซ้าย ประมาณ 2 ปี และทำให้เดินได้ไม่ไกล ประมาณ 400 เมตรก็จะมีอาการปวดที่น่องทันที ต้องนั่งพัก ถึงจะสามารถเดินได้ต่อ บางครั้งก็จะมีอาการชา และเป็นตะคริวที่น่องตอนกลางคืน บางครั้งก็รู้สึกไม่สบายที่สะโพก
ในเคสนี้เริ่มตรวจ stability test ผ่าน Perturbation test ทั้ง AP, PA, Lateral พบว่า unstable ทุก direction
⭕️ต่อด้วยประเมินตาม myotome test พบว่าปกติทั้งสองข้าง แต่เพื่อความแน่ใจ ไปทำการ test spinal mobility ต่อ พบว่า move ได้ปกติ และต่อด้วยทดสอบผ่าน FABER และ FADIR test เพื่อ screen ว่าไม่มี pathology ที่ hip ทั้งสองข้าง
⭕️ในเคสนี้เมื่อทำการตรวจเพิ่มเติม ผ่าน subsystem พบว่า
🔼Overworking of both gastrocnemius
🔽และพบ Underworking of both distal gluteus maximus
เมื่อตรวจพบตามนี้เลยทำให้เข้าใจได้ไม่ยากว่าทำไมถึงเดินไปได้สักพักแล้วปวด หรือชาที่น่องทั้งสองข้าง เพราะถ้าน่องต้องรับ load และ compensate ให้ gluteus maximus ตลอดเวลาขณะเดิน ผ่าน superficial back line/ Lateral subsystem/ POS ทำให้มักจะมีอาการปวด ชาที่น่องได้ เมื่อต้อง contraction เกือบตลอดเวลา
⭕️ดังนั้นในเคสนี้ exercise จึงให้เพียง
- Release both gastrocnemius
- Activate both distal gluteus maximus

หลังจากนั้นทำการทดสอบ stability test ผ่าน Perturbation test ทั้ง AP, PA, Lateral พบว่า stable ทุก direction
และลองให้คนไข้ไปเดินข้างนอกประมาณ 500 เมตรพบว่าไม่มีอาการชาและเจ็บที่น่องอีก อธิบายง่ายๆคือเมื่อ kinetic chain กลับมาทำงานได้อย่างปกติ ไม่มีใครต้องรับ load แทนใคร ทุกตัวสามารถทำหน้าที่ของตนได้ เท่านี้ก็จะส่งผลให้เกิด movement pattern ที่ดีได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ให้ทำ exercise ต่อเนื่อง และนัดอีก 2 อาทิตย์ คงต้องรอดูต่อในครั้งหน้า

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บ้านใจอารีย์คลินิกกายภาพ มี 2 สาขา
!!ยินดีให้คำปรึกษา ฟรี!!
📌สาขา เยาวราช
-แผนที่ : https://g.co/kgs/kXSEbT
-โทร : 080 425 9900
-Line : https://lin.ee/6pVt7JG
📌สาขา เพชรเกษม81
-แผนที่ : https://g.co/kgs/MVhq7B
-โทร : 094 654 2460
-Line :
Comments